ข้อมูลของแผนงานพัฒนาบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ (Service platform)
สำหรับผู้ประกอบการ
1.การให้บริการห้องปฏิบัติการแก่ภาคอุตสาหกรรม
1.1 รูปแบบการให้บริการ
– บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง
– บริการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
– บริการออกหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์ทดสอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตาม มอก.17025
(ISO/IEC 17025)
– บริการพื้นที่ห้องปฏิบัติการ
– บริการอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการศึกษาวิจัย
1.2 ขั้นตอนการขอรับบริการ
1) กรอกแบบฟอร์มขอรับบริการ (แบบฟอร์ม PSRU_SP)
2) ส่งแบบฟอร์มการขอรับบริการที่เจ้าหน้าที่โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอผู้ดูแลการให้บริการในส่วนต่างๆเพื่อพิจารณาอนุมัติการขอรับบริการ
3) เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้ขอใช้บริการทราบ
4) ฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ และการเข้าใช้งานห้องปฏิบัติการแก่ผู้ขอรับบริการโดย
ปฏิบัติตามระเบียบการใช้บริการพื้นที่ห้องปฏิบัติการสำหรับการงานวิจัย/ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
1.3 การคัดเลือกผู้ที่จะขอรับบริการ
– พิจารณาจากความต้องการของผู้ขอรับบริการว่าตรงกับความพร้อมและศักยภาพของการให้บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ พื้นที่ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามหรือไม่
– ระยะเวลาความเร่งด่วนในการนัดรับผลการวิเคราะห์ของผู้ขอรับบริการ ทางโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพิจารณาตามความเหมาะสม
การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง/ผลิตภัณฑ์
ลำดับ |
รายการ |
ค่าบริการต่อตัวอย่าง (บาท) |
|
วัตถุดิบอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร | |||
1 |
องค์ประกอบทางเคมีโดยประมาณ (Proximate analysis) (ความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้าทั้งหมด เยื่อใย คาร์โบไฮเดรต ) |
2,000 |
|
2 |
ความชื้น (Moisture) |
350 |
|
3 |
โปรตีน (Crude Protein) |
550 |
|
4 |
ไขมัน (Crude Fat) |
450 |
|
5 |
เถ้า (Total Ash) |
450 |
|
6 |
เยื่อใย (Crude Fiber) |
450 |
|
7 |
ค่าสี |
150 (วัดไม่เกิน 5 ครั้ง) |
|
8 |
ปริมาณน้ำอิสระ ( Water activity, aw ) |
300 (วัดไม่เกิน 3 ครั้ง) |
|
9 |
ค่าความหวาน (Brix) |
100 |
|
10 |
สมบัติทางความร้อน Differential scanning calorimeter (DSC) |
800 (อุณหภูมิ สูงกว่า 25องศาเซลเซียส) 1,000 (อุณหภูมิ ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) |
|
11 |
เนื้อสัมผัสอาหาร (Texture) |
400 (วัดไม่เกิน 10 ครั้ง) |
|
12 |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (มอก.17025 (ISO/IEC 17025) |
600 |
|
อัตราการใช้อุปกรณ์/เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ | |||
13 |
ตู้อบลมร้อน |
100 บาทต่อชั่วโมง |
|
14 |
ตู้อบลมร้อนแบบถาด |
200 บาทต่อชั่วโมง |
|
15 |
เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง |
600 บาทต่อชั่วโมง |
|
16 |
เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง |
100 บาทต่อชั่วโมง |
|
17 |
เครื่อง UV-Vis spectrophotometer |
100 บาทต่อชั่วโมง |
|
18 |
เครื่องวัดสี |
100 บาทต่อชั่วโมง |
ติดต่อสอบถามรายละเอียดและขอใช้บริการได้ที่
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ห้องโครงการจัดตั้งกองจัดการทรัพย์สินและสวัสดิการ
ชั้น 2 อาคารพิบูลวิชญ์ (ตึก ร.)
156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0 5526 7000 # 8733
โทรศัพท์มือถือ : 086 406 8387 (คุณจิตติมา ปั้นจาด)
E-mail: jeab12@gmail.com
2. การบริการออกแบบนวัตกรรม
การให้บริการออกแบบนวัตกรรมจะเน้นที่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging design) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design) ตลอดจนสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายทางการค้า โดยการให้บริการออกแบบนวัตกรรม
2.1 รูปแบบการให้บริการ
บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า สื่อสิ่งพิมพ์และงานออกแบบอื่นๆ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การออกแบบและการตลาด การเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภท การออกแบบเครื่องหมายการค้า เทคโนโลยีการพิมพ์ วิเคราะห์ข้อบอกพร้องของบรรจุภัณฑ์พร้อมทั้งแนะนำวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า สื่อสิ่งพิมพ์และงานออกแบบอื่นๆ อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการและผู้สนใจ ทั้งนี้หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า สื่อสิ่งพิมพ์และงานออกแบบอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ประกอบการและผู้สนใจ รวมถึงการดำเนินการผลิตบรรจุภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์โดยทางศูนย์ฯ จะประสานจัดหาโรงพิมพ์และบริษัทผู้ผลิต
2.2 เงื่อนไขในการใช้บริการ
1) สามารถเข้าใช้บริการได้ไม่จำกัดจำนวนชิ้นงาน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ขอเข้ารับบริการ คือ 1 ผลิตภัณฑ์ สามารถออกแบบได้ทั้ง บรรจุภัณฑ์ ฉลาก โลโก้ และสื่อสิ่งพิมพ์ )
2) ใน 1 ชิ้นงานจะสามารถแก้ไขได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
3) ได้รับไฟล์ต้นฉบับ และต้นแบบ 1 ชิ้น/1 ชิ้นงาน
2.3 ขั้นตอนการเข้ารับบริการของศูนย์ออกแบบนวัตกรรม
1) การสมัครขอเข้ารับบริการ (กรอกแบบฟอร์ม PSRU_SP)
– การเข้ารับคำปรึกษาด้านการออกแบบ
– การออกแบบ/พัฒนาบรรจุภัณฑ์
– การออกแบบตราสินค้า
– การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
– การออกแบบอื่นๆ
2) การดำเนินการออกแบบเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้วตามความต้องการของผู้ประกอบการ (ระยะเวลาในการออกแบบให้ลูกค้าเจ้าหน้าที่จะเริ่มออกแบบงานนับเป็นวันที่ 1 เมื่อลูกค้าส่งข้อมูลให้ทางศูนย์ออกแบบนวัตกรรมครบหมดแล้วเท่านั้น)
3) การนำเสนอแบบที่ได้รับการออกแบบ/พัฒนา เมื่อครบกำหนดระยะเวลาทำงาน เจ้าหน้าที่ออกแบบจะส่งงานให้ลูกค้าตรวจทางอีเมล์ หรือช่องทางที่ลูกค้าสะดวก หากมีการแก้ไขทางศูนย์ออกแบบนวัตกรรมจะดำเนินการแก้ไข (ระยะเวลาในการแก้ไข ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการแก้ไข)
4) การนำเสนอสรุปผลงานการออกแบบ และส่งมอบงานพร้อมทั้งแนะนำแนวทางเพื่อการนำไปใช้จริง
ขั้นตอนการให้บริการของศูนย์ออกแบบนวัตกรรม
ติดต่อสอบถามรายละเอียดและขอใช้บริการได้ที่
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ห้องโครงการจัดตั้งกองจัดการทรัพย์สินและสวัสดิการ
ชั้น 2 อาคารพิบูลวิชญ์ (ตึก ร.)
156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0 5526 7000 # 8734
E-mail: sciencepark@psru.ac.th
3. การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแก่ภาคอุตสาหกรรม
การให้บริการด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เป็นการบริการเพื่อมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักในความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและนักวิจัยรวมถึงการให้บริการและคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลเพื่อจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาด้วยเช่นกัน มีรายละเอียดดังนี้
3.1 การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา (IP creation) ครอบคลุมถึงการให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสำรวจแนวโน้มเทคโนโลยีหรือทำแผนที่ สิทธิบัตร การให้คำปรึกษางานทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมกับงาน โดยการดำเนินงานครอบคลุมถึงการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เกิดการ พัฒนา สร้างสรรค์ผลงานเชิงพาณิชย์ นำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมของประเทศ
3.2 การส่งเสริมการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (IP Protection) ครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษา การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผลงานที่ต้องการจะจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญานั้น มีการจดขึ้นทะเบียนมาก่อนแล้วหรือยัง ตรวจสอบความใหม่ ความเป็นไปเป็นได้ในการขอรับสิทธิบัตรของผลงาน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิบัตร ดำเนินงานสามารถใช้บริการการสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ ได้จากแหล่งข้อมูลที่แสดงในตารางดังด้านล่างนี้ โดยตังอย่างของประเภททรัพย์สินทางปัญญาที่ยื่นขอรับความคุ้มครอง ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบอนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า
ตัวอย่างระบบสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรออนไลน์ในประเทศไทยและต่างประเทศ (Search Patent System)
1) ไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP)
http://patentsearch.ipthailand.go.th/DIP2013/simplesearch.php
2) ญี่ปุ่น Japan Patent Office (JPO)
https://www.j-platpat.inpit.go.jp/web/all/top/BTmTopEnglishPage
3) สิงคโปร์ Intellectual Property Office of Singapore (IPOS)
https://www.ip2.sg/RPS/WP/CM/SearchSimpleP.aspx?SearchCategory=PT
4) สหรัฐอเมริกา US Patent & Trademark Office (USPTO)
http://patft.uspto.gov/netahtml/PTO/search-bool.html
ขั้นตอนการขอรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
1) ผู้ที่รับบริการที่มีความประสงค์จะยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อคุยรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ห้องโครงการจัดตั้งกองจัดการทรัพย์สินและสวัสดิการ
ชั้น 2 อาคารพิบูลวิชญ์ (ตึก ร.)
156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0 5526 7000 # 8733
โทรศัพท์มือถือ : 086 406 8387 (คุณจิตติมา ปั้นจาด)
E-mail: jeab12@gmail.com
สมบัติของผู้รับบริการ คือ ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม Flagship และอุตสาหกรรมมุ่งเน้นของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีความต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ผู้สนใจขอใช้สิทธิในเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
2) ในกรณีขอรับบริการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอตามมาตรา 5 พรบ.สิทธิบัตร ได้แก่ ความใหม่ ขั้นการประดิษฐ์ การพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ และไม่ขัดต่อมาตรา 9
3) หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่จะดำเนินการชี้แจงการจัดทำแบบฟอร์มคำขอและเอกสารประกอบต่างๆ จากนั้นส่งให้ผู้ประดิษฐ์และผู้ที่มีส่วนในการถือลิขสิทธิ์ลงนาม
4) ส่งเอกสารไปยังสำนักสิทธิบัตรกรมทรัพย์สินทางปัญญา (การดำเนินการของสำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี และอนุสิทธิบัตร ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี สิทธิบัตรใช้เวลาประมาณ 3-7 ปี) หรือสำนักงานพาณิชย์
4. สำนักความร่วมมืออุตสาหกรรม (Office of Industrial Liaison: OIL)
สำนักความร่วมมืออุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานที่เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้บริการและช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมได้อย่างครบวงจร โดยสำนักความร่วมมืออุตสาหกรรมมีหน้าที่หลักในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ และรวบรวมความต้องการของภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงกับการบริการต่างๆที่เกี่ยวข้องของอุทยานวิทยาศาสตร์ ตลอดจนทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือหรือบูรณาการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานผู้ใช้บริการในด้านต่างๆของอุทยานวิทยาศาสตร์ในอนาคต
4.1 บริการของสำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม (OIL)
4.1.1 การส่งเสริมการใช้บริการด้านต่างๆของอุทยานวิทยาศาสตร์โดยเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆ
ทั้งภายในและภายนอกอุทยานวิทยาศาสตร์
4.1.2 บริการที่ปรึกษา
1) การวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้นทางเทคนิคและแนวทางการพัฒนาธุรกิจ
2) การสรรหาผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และการบริการต่างๆภายใต้การดำเนินงาน
อุทยานวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
3) การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา
4.1.3 บริการจัดอบรม/สัมมนา องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ
4.1.4 บริการข้อมูลทางธุรกิจและเทคโนโลยี
4..1.5 ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักและเผยแพร่ข้อมูลของอุยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
4.2 การพัฒนาศักยภาพบริการ/บริหารจัดการ
จัดการฝึกอบรมบุคลากรให้มีเข้าใจถึงภารกิจของอุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการเชื่อมต่อและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการภาคเอกชนและการบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างกิจกรรม การอบรมสัมมนา ที่จัดเพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรให้เกิดความชำนาญในการบริการ ยกตัวอย่าง เช่น
– การพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจด้านการออกแบบ สร้างแบรนด์ การตลาด และทรัพย์สินทางปัญญา
– กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน
– กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หารือแนวทางในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม
- ฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม : http://www.stdb.most.go.th