อบรมเชิงปฏิบัติการ (Training and Workshop)

วันที่ 20-22 พฤษภาคม 2567 อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จัดโครงการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะกสรเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการ (Training and Workshop) งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567) ณ ห้อง 207 อาคารพิบูลวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup เริ่มต้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับประเทศ ที่ช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศผู้ประกอบการ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นในระดับภูมิภาค รวมทั้งสร้างเวทีและเปิดโอกาสให้วิสาหกิจเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดในระดับประเทศต่อไป โดยมีหัวข้อการบรรยายและกิจกรรม workshop ดังนี้
– Business Startup จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ
– Business Idea แนวคิดหลักการทำธุรกิจ
– Business background ความเป็นมาของธุรกิจ
– Business Model Canvas แผนธุรกิจ
– การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการบริหารและการจัดการบัญชี
– Marketing and sales แผนการตลาดและแผนการขาย
– หลักการในการบริหารจัดการด้านการเงิน
– Financial projections แผนการเงิน
– Funding Request รายละเอียดเงินลงทุน
– Emergency Plan แผนฉุกเฉิน
– Pitching การนำเสนอแผนธุรกิจ

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ได้แก่
– คุณอภิโชค ประเสริฐรุ่งเรือง
Chief Business Development Officer & Co – founder,AIRPORTELs

– คุณตรีชิต เมธารัตนโชติ
CEO & Co-founder MEEPHAKDEE Co., LTD.

– คุณพิชามญช์ ขำแย้ม
ที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต

มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 8 ทีม

1. KITA TECH – เครื่องตรวจจับแมลงด้วยระบบ AI
2. ROBOTECH – Biosite เครื่องตรวจจับท่านั่ง office syndrome
3. สมุนไพรสูดดมตราตามธาตุ – สมุนไพรสูดดมตราตามธาตุ
4. C&Y Greenbites Plant Base
5. สุขละมุน – ครีมอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุ
6. Roselieves – ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อช่วยในการนอนหลับ สารสกัดดอกกุหลาบมอญ
7. Red Guard – อุปกรณ์แจ้งเตือนระดับน้ำของหม้อน้ำรถยนต์
8. ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ – ผลิตภัณฑ์ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

ขอแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกการแข่งขัน Startup Thailand League 2024 ระดับมหาวิทยาลัย เป็นตัวแทน 5 ทีม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับเงินสนับสนุนพัฒนาชิ้นงานต้นแบบ เพื่อไปต่อในกิจกรรมการแข่งขันระดับรอบภูมิภาคที่จะจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลการตัดสิน 5 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ มีดังนี้

1. ทีมสุขละมุน – ครีมอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุ
2. ทีม KITA TECH – เครื่องตรวจจับแมลงด้วยระบบ AI
3. ทีม ROBOTECH – Biosite เครื่องตรวจจับท่านั่ง office syndrome
4. ทีม สมุนไพรสูดดมตราตามธาตุ – สมุนไพรสูดดมตราตามธาตุ
5. ทีม C&Y Greenbites – ผลิตภัณฑ์ Plant Base

#StartupThailandLeague2024 #Bootcamp
#RSP #RSPNorth #TotalSolutionsForInnovation
#ScienceparkPSRU #PSRU

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *