โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ Research To Market : R2M ระดับประเทศ ครั้งที่ 11

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์บุษบา หินเธาว์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน “โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ Research To Market : R2M ระดับประเทศ ครั้งที่ 11” กล่าวรายงาน โดย คุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) และได้รับเกียรติจาก คุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุดม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมประกวด จำนวน 22 ทีม จาก 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตัดสิน 5 ท่าน ดังนี้

1. คุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.)
2. คุณเฉลิมพล ตู้จินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นาสท์ด้า โฮลดิ้ง จำกัด
3. ดร.นเรศ ดำรงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด
4. ดร. ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
5. คุณกัมปนาท วิมลโนท Managing Director,KXVC

ซึ่งมีผลการแข่งขัน Research To Market : R2M ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 มีดังนี้

🥇รางวัลชนะเลิศ: ทีม Wizmed Pasuk : น้ำยาพรมร่างอาจารย์ใหญ่ (จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

🥈รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1: ทีม Carne : ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อระบุระดับเปอร์เซนต์ไขมันกล้ามเนื้อของวัวเนื้อพรีเมี่ยม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

🥉รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2: ทีม เงินขวัญถุง : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเส้นผม สูตรไม่ใช้น้ำ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

🏅รางวัลชมเชย: ทีม Bac Tech : สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรีย Brevibacillus laterosporus SA14 TISTR2453 (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

🏅รางวัลชมเชย: ทีม ModernPlas : PlasOne ผลิตภัณฑ์พลาสมาเย็นเพื่อการฟื้นฟูเส้นผม (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

และขอบคุณตัวแทนทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในการแข่งขัน “โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ Research To Market : R2M ระดับประเทศ ครั้งที่ 11”

ทีม Robotech : Ai Detection เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค Office Syndrome จากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

อาจารย์ที่ปรึกษา – อาจารย์วชิระ ลิ้มศรีประพันธ์ และ อาจารย์พันธุ์ธิดา ลิ้มศรีประพันธ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *